โรคภูมิแพ้ Allergy

โรคภูมิแพ้ Allergy

โรคภูมิแพ้ Allergy เป็นอย่างไร?

โรคภูมิแพ้ Allergy เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนไทย ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น 3 – 4 เท่า หากเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี โดยข้อมูลสถิติของสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย พบว่า เด็กไทยเป็นโรคภูมิแพ้สูงถึงร้อยละ 38 และผู้ใหญ่เป็นโรคภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 20

โรคภูมิแพ้ Allergy

สาเหตุของ โรคภูมิแพ้ Allergy

โรคภูมิแพ้ Allergy ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เกิดจากปัจจัยสำคัญ 2 อย่าง คือ

  1. กรรมพันธุ์ : ถ้าพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกจะมีโอกาสเป็นประมาณ 60% แต่ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกก็จะมีโอกาสเป็นประมาณ 30%
  2. สิ่งแวดล้อม : เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะสารก่อภูมิแพ้ที่จะเข้าสู่ร่างกายของเรา ล้วนเกิดจากภาวะแวดล้อมทั้งสิ้น ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสสารบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ ที่พบบ่อย ได้แก่ ฝุ่น ไรฝุ่น รังแค หรือขนของแมวและสุนัข ละอองเกสร เชื้อราในอากาศ อาหารบางชนิด เช่น นมวัว ไข่ ถั่ว แป้งสาลี อาหารทะเล ผักและผลไม้บางชนิด แพ้ยา ผงชูรส สารกันบูด สารแต่งกลิ่นและสี การสัมผัสสารบางชนิดหรือสารระคายเคือง เช่น ผงซักฟอก เครื่องสำอาง ควันธูป ควันบุหรี่ แมลงสัตว์กัดต่อย นอกจากนี้ คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ มักมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะการณ์ตอบสนองไวกว่าปกติต่อสิ่งกระตุ้นที่ไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้ได้ เช่น ความเย็น ความร้อน ความกดอากาศต่ำ ฝน หรือความชื้น ซึ่งภาวะนี้อาจอยู่นานเป็นวันหรือเป็นเดือนก็ได้ และสามารถเกิดอาการได้โดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับอวัยวะที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันและความรุนแรงไม่เท่ากัน เพราะชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน

โรคภูมิแพ้ Allergy

ชนิดของโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อย

ชนิดของโรคภูมิแพ้อาจแบ่งออกง่าย ๆ ตามระบบที่มีอาการ ดังนี้ :

  • โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เช่น โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคแพ้อากาศ โรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืด จะมีอาการ จาม คันจมูก น้ำมูกไหลออกมาทางจมูก หรือไหลลงคอ คัดจมูก คันเพดานปากหรือคอ ไอ หอบเหนื่อย หายใจขัด แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี้ด หายใจลำบาก หรือหายใจเร็ว โดยเฉพาะเวลาตอนกลางคืน ตอนเช้ามืด หรือขณะออกกำลังกาย หรือขณะเป็นไข้หวัด
  • โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ ผิวหนังอาจเกิดการอักเสบจากการสัมผัสกับสารบางชนิดที่แพ้ได้ เช่น ผงซักฟอก เครื่องสำอาง ผิวหนังอาจมีการอักเสบเป็นตุ่มนูนคัน หรือใหญ่เป็นปื้นนูนแดง และคันมากที่เรียกว่า ลมพิษ อาการคัน มีผดผื่นตามตัว ผื่นมักแห้ง แดง มีสะเก็ดบาง ๆ หรือมีน้ำเหลืองแห้งกรังปกคลุมอยู่ ในเด็กเล็ก มักเป็นที่ แก้ม ก้น หัวเข่าและข้อศอก ในเด็กโตมักเป็นที่ข้อพับของแขนและขา ในรายที่เป็นเรื้อรัง ผิวหนังบริเวณที่เป็นจะหนาตัวขึ้นและมีสีคล้ำขึ้น
  • โรคภูมิแพ้ทางตา เช่น เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ จะมีอาการอาการคันและเคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล หนังตาบวม แสบตา
  • โรคภูมิแพ้อาหาร จะมีอาการอาเจียน คลื่นไส้ ถ่ายเหลว ปากบวม ปวดท้อง ท้องอืด
  • โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง ที่มีอาการเกิดขึ้นกับหลายระบบ

อาการของโรคภูมิแพ้ Allergy จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้อยกว่าคนปกติทั่วไป เช่น ทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ ขาดสมาธิทำให้เรียนและทำงานได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน หรือเล่นกีฬาได้ตามปกติ เสียบุคลิกภาพที่ดีในการเข้าสังคม นอกจากนั้นการที่ไม่ได้รักษาโรคนี้อย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น ไซนัสอักเสบ คออักเสบ ไร้เรื้อรัง ผนังคอและต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ริดสีดวงจมูก หูชั้นกลางอักเสบโดยเฉพาะในเด็ก ภาวะมีน้ำขังในหูชั้นกลาง การเจริญเติบโตของรูปหน้าผิดปกติในเด็กเล็ก ปวดหู หูอื้อ จมูกไม่ได้กลิ่น นอนกรน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคผิวหนังติดเชื้อ หรือถ้าเป็นมากอาจมีอาการบวมที่ริมฝีปาก ลิ้น ลำคอ กล่องเสียงและหลอดลม ทำให้หายใจไม่ได้ และอาจทำให้เกิดอาการช็อค (anaphylactic shock) ได้ การให้การรักษาโรคนี้อย่างถูกต้อง นอกจากจะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นแล้ว ยังสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนดังกล่าวได้ด้วย

โรคภูมิแพ้ Allergy

การรักษา โรคภูมิแพ้ Allergy

ารรักษาโรคภูมิแพ้ มีขั้นตอนในการรักษา 4 ขั้นตอน คือ

  1. การดูแลตนเองอย่างเหมาะสม และหลีกเลี่ยง หรือกำจัดสิ่งที่แพ้ เป็นการรักษาที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นการรักษาและป้องกันที่สาเหตุ โดยพยายามดูแลสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์และแข็งแรงอยู่เสมอ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกประเภท รวมทั้งผักและผลไม้ ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และรักษาสุขภาพจิตให้สดชื่น แจ่มใส เพราะถ้ามีอาการเครียด เศร้า โกรธ หรือกังวล อาจทำให้อาการของโรคมากขึ้นได้ พยายามอยู่ห่างจากผู้ที่ไม่สบายทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน เนื่องจากอาจรับเชื้อโรค ทำให้มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ และเมื่อมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไซนัสอักเสบ ฟันผุ คอหรือต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ หรือการติดเชื้อที่ตา, ผิวหนัง หรือระบบทางเดินอาหาร ควรรีบไปหาแพทย์ เพื่อให้การรักษาเสียแต่เนิ่น ๆ ควรดูแลสุขภาพของฟันและช่องปากให้ดี โดยไปพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง พยายามหลีกเลี่ยงอย่าให้สัมผัสกับสิ่งที่แพ้ อาจใช้วิธีสังเกตว่า สัมผัสกับอะไร อยู่ในสิ่งแวดล้อมใดหรือรับประทานอะไรแล้วมีอาการ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านั้น นอกจากนั้น ควรกำจัดหรือลดปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เหลือน้อยที่สุด แม้ว่าสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกบ้าน เราไม่สามารถควบคุมได้ แต่สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายในบ้านโดยเฉพาะห้องนอน เราสามารถควบคุมได้ เช่น คนที่แพ้ไรฝุ่น ควรจะซักผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และผ้าห่มด้วยความร้อน ร่วมกับการซักด้วยผงซักฟอก บนเตียงนอนไม่ควรมีตุ๊กตาผ้า ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ในบ้าน ควรเก็บขยะให้มิดชิดไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของแมลงสาบ ไม่ควรสูบบุหรี่ภายในบ้าน เป็นต้น
  2. การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยารับประทาน, ยาพ่นจมูก, ยาทาผิวหนัง, ยาสูด หรือพ่นคอ, ยาหยอดตา ซึ่งมีความจำเป็นในระยะแรก เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองต่างๆ 100% อย่างไรก็ตาม ยาเป็นเพียงการรักษาปลายเหตุ เมื่อสามารถดูแลตนเอง และควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ความจำเป็นในการใช้ยาก็จะน้อยลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและไม่ควรซื้อยามาใช้เอง
  3. การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ (allergen immunotherapy) เป็นการรักษา โดยฉีดสารก่อภูมิแพ้ ที่คิดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เข้าไปในร่างกายทีละน้อย แล้วค่อยๆเพิ่มจำนวน เพื่อให้สร้างภูมิต้านทานต่อสิ่งที่แพ้ วิธีนี้จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมาก ไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยา หรือไม่สามารถทนผลข้างเคียงของยาได้ หรือผู้ที่มีโรคภูมิแพ้หลายชนิดร่วมด้วย วิธีนี้จะใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีครึ่ง ถ้าได้ผลดี อาจต้องฉีดต่อเนื่องไปอีก 3-5 ปี
  4. การรักษาโดยการผ่าตัด ใช้ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการคัดจมูกหรือน้ำมูกไหล ซึ่งให้การรักษาโดยการใช้ยาอย่างเต็มที่แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีโรคบางอย่างร่วมด้วย เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด เยื่อบุจมูกบวมมากผิดปกติ ริดสีดวงจมูก ไซนัสอักเสบ ซึ่งไม่ดีขึ้นหลังให้การรักษาด้วยยา

โดยสรุป

โรคภูมิแพ้นั้น สามารถรักษาให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้นได้ สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนบุคคลปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้โดยปราศจากโรคแทรกซ้อน ทั้งนี้การรักษามิได้ขึ้นอยู่กับการใช้ยาเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องของผู้ป่วยด้วย

Credit : rcot.org, paolohospital

Green Mulon กรีนมูลอน โรคภูมิแพ้ Allergy

กรีนมูลอน Green Mulon ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหาร สมุนไพรสารสกัดจากชาเขียว และสารสกัดเคอร์คูมินอยด์ ดูแลอาการภูมิแพ้ ช่วยลดการหลั่งสาร Immunoglobulin ที่เป็นสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้ เสริมสร้างภูมิต้านทาน ช่วยทำให้อาการภูมิแพ้ดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ และยังช่วยยับยั้งการหลั่งสารฮีสตามินที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้

cci official