Testosterone

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ชายอย่างไร?

ฮอร์โมนเพศชาย “ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน” (Testosterone Hormone)

Testosterone

ฮอร์โมนเพศชาย “ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน” (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศที่สำคัญที่สุดของผู้ชาย ฮอร์โมนนี้ถูกสร้างขึ้นที่บริเวณลูกอัณฑะของผู้ชาย มีหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยเผาผลาญไขมัน เสริมสร้างกระดูก และกล้ามเนื้อ กระตุ้นการพัฒนาลักษณะภายนอกให้มีความเป็นชายมากขึ้น เช่น กล้ามเนื้อ เสียงทุ้ม เส้นผม เส้นขนต่าง ๆ รวมถึงมีผลต่อความต้องการทางเพศ การสร้างเชื้ออสุจิให้สมบูรณ์ คงความแข็งแรง และรักษามวลกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมากที่สุดประมาณ อายุยี่สิบต้น ๆ ทำให้เด็กผู้ชายที่เข้าสู่วัยรุ่นจะมีเสียงห้าว ทุ้ม เริ่มมีหนวด เครา อวัยวะเพศมีการพัฒนามากขึ้น ช่วยให้เกิดความต้องการทางเพศ เพิ่มขนาดของอวัยวะเพศและอัณฑะเมื่อเกิดการกระตุ้น โดยปกติฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะลดต่ำลงเมื่อมีอายุ 30-40 ปีขึ้นไป โดยจะลดลงเฉลี่ยปีละประมาณ 1% อย่างช้า ๆ และจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่แสดงถึงการมีฮอร์โมนเพศชายลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนในวัยกลางคน หรือเมื่อมีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสาเหตุทำให้สุขภาพเสื่อมถอย ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา

ภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ลดต่ำลง จะทำให้มีอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ความรู้สึกและความต้องการทางเพศลดลง
  • เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • อวัยวะเพศไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นาน
  • ปริมาณของตัวอสุจิลดลง
  • ลูกอัณฑะเล็กลง
  • หน้าอกโตขึ้น
  • เกิดการสะสมไขมันในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้อ้วน ลงพุง
  • อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อลีบเล็กลงไม่มีแรง
  • ปวดตามกระดูกหรือข้อต่อ และอาจเป็นโรคกระดูกพรุน
  • ผมร่วง ผิวแห้ง
  • อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า ขาดความกระตือรือร้น
  • ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
  • มีอาการร้อนวูบวาบ
  • นอนไม่หลับ

สาเหตุที่อาจทำให้ปริมาณ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน Testosterone ฮอร์โมนเพศชาย ลดต่ำลง เช่น

  • การได้รับบาดเจ็บที่อัณฑะ เช่น แผลบาดเจ็บ การทำหมัน การติดเชื้อที่ลูกอัณฑะ

  • โรคที่เกี่ยวกับระบบต่างๆ เช่น โรคตับอักเสบ โรคไต ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเอดส์

  • การรักษาโรคมะเร็ง การฉายรังสี หรือ การทำเคมีบำบัด

  • ความผิดปกติทางด้านฮอร์โมน เช่น โรคหรือเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง, ฮอร์โมนโปรแลคตินอยู่ในระดับสูง

  • การดื่มสุรา สูบบุหรี่

  • การทำงานหนักโดยไม่พักผ่อน

  • ความเครียด

วิธีดูแลตัวเองให้มีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน Testosterone ฮอร์โมนเพศชายเป็นปกติ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างก็มีส่วนช่วยให้ปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนอยู่ในระดับปกติ ตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนมีความสำคัญต่อร่างกายโดยรวม การนอนหลับไม่เพียงพอจะทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลง ดังนั้น หากต้องการให้ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรนอนหลับให้ได้อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อให้การทำงานของฮอร์โมนนี้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  2. กินอาหารให้หลากหลายและสมดุล รับประทานอาหารที่มีสังกะสี เช่น เนื้ิิอสัตว์ ไข่ หอยนางรม พืชตระกูลถั่ว และธัญพืชต่าง ๆ และรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียม เช่น ผักปวยเล้ง อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วลิสง เนื่องจากเป็นสารอาหารที่ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนเพศชายดี

  3. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ความอ้วนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายลดลง การลดน้ำหนักจึงอาจช่วยให้มีระดับฮอร์โมนนี้สูงขึ้นได้

  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพอเหมาะ ไม่หักโหมจนเกินไป โดยเฉพาะการเล่นเวท (weight training) จะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย และยังช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญของร่างกาย ลดไขมันสะสมได้

  5. กำจัดความเครียด เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลมากขึ้น จะส่งผลให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง จึงควรพยายามจัดการกับความเครียด เช่น ทำสมาธิ ฝึกการหายใจ ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เมื่อระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol level) ลดลง ระดับ Testosterone ก็จะสูงขึ้น รวมถึงการทำงานของร่างกายด้านอื่น ๆ ก็ดีขึ้นด้วยเช่นกัน
  6. ลดการบริโภคน้ำตาล เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงได้ถึง 25% จึงควรลดการบริโภคน้ำตาลให้น้อยลง

  7. ลดการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มขึ้นและทำให้อัณฑะหดตัวลง ซึ่งกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนเพศชาย ผู้ชายจึงควรดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณพอเหมาะเท่านั้น คือ ไม่ควรเกินวันละ 2 drink ต่อวัน

  8. ทานอาหารเสริม หรือวิตามินบางชนิด ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้ เช่น

    • Zinc หรือสังกะสี : งานวิจัยพบว่า Zinc ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และคุณภาพของสเปิร์มให้ดีขึ้น
    • กรดโฟลิก (Folic acid) : ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้เช่นกัน
    • วิตามินเอ และวิตามินอี : มีความสำคัญต่อฮอร์โมน Testosterone และการเพิ่มคุณภาพให้สเปิร์ม
    • วิตามินซี : จะช่วยให้เลือดไหลเวียนไปอวัยวะเพศเพิ่มขึ้น ทำให้หลอดเลือดขยายตัวได้ดี ตัวเชื้อสเปิร์มแข็งแรง และยังป้องกันไม่ให้เชื้อสเปิร์มจับตัวกันเป็นก้อน
    • วิตามินดี : มีความสำคัญต่อการทำงานของฮอร์โมนหลายชนิดรวมถึง Testosterone พบว่า คนที่มีภาวะขาดวิตามินดี ส่งผลให้ Testosterone ลดลง และการได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ ช่วยเพิ่มระดับ Testosterone ได้
    • แมกนีเซียม : การศึกษาพบว่า Magnesium ช่วยเพิ่มระดับของ Testosterone ได้

สมุนไพรสกัด Green Papa กรีนปาปา

กรีนปาปา Green Papa ฟิตพลังหนุ่มให้กับคืนมา

Green Papa กรีนปาปา : เป็นสารสกัดจากสมุนไพรหลากหลายชนิด รวมทั้งวิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ช่วยยับยั้งการหลั่งของเอ็นไซม์ฟอสโฟไดเอสเทอเรส PDEs จึงช่วยลดการทำให้ร่างกายเกิดความเสื่อม ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง เลือดลมไหลเวียนได้ดี ช่วยบำรุงตับ และไตให้ทำงานได้สมบูรณ์เต็มที่ ร่างกายจึงแข็งแรงขึ้น เมื่อสุขภาพโดยรวมดีขึ้น สมรรถภาพทางเพศก็จะฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ

Zinc Choloride (ซิงค์ คลอไรด์) : ช่วยเพิ่มความรู้สึกทางเพศในผู้ชาย ช่วยให้ต่อมลูกหมากทำงานได้เป็นปกติ และเป็นส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ช่วยป้องกันโรคต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมลูกหมาก

Ginseng Extract (สารสกัดจากโสมเกาหลี) : ถูกนำมาใช้ในตำราแพทย์แผนจีนเพื่อบำรุงสุขภาพและรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศมานานนับพันๆ ปี มีคุณสมบัติที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย ได้แก่ ช่วยการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางในการควบคุมสมดุลร่างกาย ทำให้สมรรถภาพทางร่างกายดีขึ้น

cci official